คอมพิวเตอร์การศึกษา

คอมพิวเตอร์การศึกษา
ค่ายพัฒนาซอฟแวร์

วันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล

สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล

           สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา ตั้งอยู่เลขที่ 169 มหาวิทยาลัยบูรพา ถนนลงหาดบางแสน ตำบลแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรีสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลแห่งนี้ ได้รับการพัฒนาขึ้นมาจาก "พิพิธภัณฑ์สัตว์และสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม"  ซึ่งก่อตั้งเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2512 โดยคณะอาจารย์ในภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน  (วิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสนเดิม) เพียง 2-3 คน และคณะนิสิตอีกจำนวนหนึ่ง โดย ดร.บุญถิ่น อัตถากร อดีตอธิบดี กรมการฝึกหัดครู และอดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นผู้สนับสนุนการดำเนินการโครงการดังกล่าว
                 พิพิธภัณฑ์สัตว์ และสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม ได้รับการพัฒนาขึ้นเป็นลำดับ จนไม่สามารถขยายออกไปได้อีก ทั้งนี้เนื่องจาก ตัวอาคารมีขนาดจำกัด และไม่ได้ออกแบบไว้สำหรับการนี้โดยตรง เพื่อเป็นการขยายกิจการของพิพิธภัณฑ์สัตว์ และสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม  ให้กว้างขวางยิ่งขึ้นกว่าเดิม ทางมหาวิทยาลัยโดยการนำของ ดร.ทวี หอมชง และคณะได้จัดทำโครงการขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลญี่ปุ่น  เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2523 รัฐบาลญี่ปุ่นได้ให้ความช่วยเหลือแบบให้เปล่า ในการจัดตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์ทางทะเลเป็นมูลค่า 230 ล้านบาท  โดยเริ่มก่อสร้าง ในวันที่ 1 ธันวาคม 2524 ณ บริเวณด้านหน้าของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตบางแสน ในเนื้อที่ประมาณ 30 ไร่
สมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมเสด็จมาทรงวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 23 มีนาคม  พ.ศ. 2525 การก่อสร้างแล้วเสร็จ และมีพิธีมอบให้แก่มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2526
จากนั้นศูนย์วิทยาศาสตร์ทางทะเล ได้จัดทำโครงการเพื่อยกฐานะเป็นสถาบัน และได้รับอนุมัติให้เป็นสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล  เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2528
ปรัชญา

" พัฒนางานวิจัย  ใส่ใจให้บริการ  ประสานความร่วมมือ ยึดถือแนวทางอนุรักษ์  พิทักษ์ทะเลไทย"
ปณิธาน

ผลิตผลงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเล ให้เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ
เป็นแกนนำในด้านการอนุรักษ์ และตระหนักถึงการบริการวิชาการแก่สังคมอย่างต่อเนื่อง
มีระบบการบริหารจัดการภายในหน่วยงานที่ดีมีคุณภาพ
วัตถุประสงค์
เพื่อเป็นศูนย์กลางแห่งความเป็นเลิศทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเล แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เพื่อการพัฒนาการใช้ทรัพยากรทางทะเลและดำเนินการด้านอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
ให้บรรลุผลในทางปฎิบัติอย่างแท้จริง
เพื่อเป็นแหล่งค้นคว้าวิจัย เป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนนักวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเล และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยว ศึกษาหาความรู้ เป็นสถานฝึกงาน ฝึกอบรมของครู นิสิต นักศึกษา และประชาชนโดยทั่วไป
วิสัยทัศน์
เพื่อให้สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล เป็นหน่วยงานที่มีศักยภาพทางด้านวิทยศาสตร์ทางทะเลในภาคตะวันออกของประเทศไทย ที่มีบทบาทสำคัญในการจัดการศึกษาค้นคว้าโดยเน้นการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเล ตลอดจนสร้างความเป็นเลิศทางด้าน วิจัยให้เป็นที่ยอมรับในระดับประเทศ และระดับนานาชาติ มีแนวทางพัฒนาสถาบันฯ ที่สอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัย โดยเน้นความเป็นสากล การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งการบริการวิชาการแก่ชุมชน ให้สอดคล้องกับความต้องการของ ท้องถิ่นและยังประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จะดำรงความเป็นผู้นำของการค้นคว้าวิจัยโดยสร้างความพร้อมในด้านการบริหารจัดการ ตลอดจนการผลิตผลงานวิจัยอันจะเป็นประโยชน์ต่อสังคม และประเทศชาติสืบไป



 



บันทึกเขียนเรื่องราว  สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล

 สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล  จัดแบ่งออกเป็นสามส่วน คือ
1.พิพิธภัณฑ์ วิทยาศาสตร์ ทางทะเล
2.สถานเลี้ยงสัตว์ น้ำเค็ม
3.ห้องปฏิบัติการวิจัย

  เวลาเปิดทำการ  วันธรรมดา (อังคาร-ศุกร์) ๘.๓๐-๑๖.๐๐ น. วันหยุด (เสาร์-อาทิตย์-นักขัตฤกษ์) ๘.๓๐-๑๗.๐๐ น. *ปิดวันจันทร์*
       อัตราค่าเข้าชม อัตราปกติ (รายบุคคล) เด็ก ๑๐ บาท ผู้ใหญ ๒๐บาท นักเรียน, นิสิต, นักศึกษาในเครื่องแบบ ๕ บาท อัตราหมู่คณะ ของสถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการกับสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล นักเรียน ๕ บาท ครู-อาจารย์ผู้ควบคุม ๑๐ บาท ผู้ใหญ่ ๒๐ คนขึ้นไปคนละ ๑๕ บาท        รายการพิเศษ สำหรับสถานศึกษา การดำน้ำให้อาหารปลา วันธรรมดา (อังคาร-ศุกร์) วันหยุด (เสาร์-อาทิตย์-นักขัตฤกษ์) เวลา ๑๐.๓๐ น. และ ๑๔.๓๐ น.       สถานศึกษาที่ต้องการชมภาพยนต์ กรุณากรอกแบบฟอร์มการเข้าชมภาพยนต์และส่งกลับไปที่ งานประชาสัมพันธ์สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล ล่วงหน้าอย่างน้อย ๑ สัปดาห์ (ไม่เสียค่าบริการ) ]








วันศุกร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ประโยชน์ของ น้ำตา

ประโยชน์ของ....น้ำตา
Devil (16,254 views) first post: Tue 1 February 2011 last update: Tue 1 February 2011
น้ำตาเป็นเครื่องหมายของความอ่อนแอเป็นความทุกข์ความเศร้า ที่ไม่อยากพบ อยากได้ ทำไมผู้หญิงจึงร้องไห้ง่ายกว่าผู้ชายหรือสงสัยว่า น้ำตานอกจากจะใช้ในการร้องไห้แล้วจะใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้อีกหรือไม่

หน้าที่ 1 - ประโยชน์ของ....น้ำตา
            โดยทั่วไปเรามักถือว่าน้ำตาเป็นเครื่องหมายของความอ่อนแอ ความพ่ายแพ้ผิดหวัง เป็นความทุกข์ความเศร้า ที่ไม่อยากพบ อยากได้ จึงไม่มีใครอยากจะคิดถึงรวมทั้งหาคำตอบใดๆ เกี่ยวกับน้ำตาหรือการร้องไห้เลย แม้ว่าอาจเคยมีความสงสัยอยู่บ้าง ทำไมผู้หญิงจึงร้องไห้ง่ายกว่าผู้ชายหรือสงสัยว่า น้ำตานอกจากจะใช้ในการร้องไห้แล้วจะใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้อีกหรือไม่            ที่จริงธรรมชาติสร้างน้ำตามาให้มนุษย์ได้ใช้ประโยชน์หลายประการ ตั้งแต่มีน้ำตาไว้ทำความชุ่มชื้นแก่ดวงตา ช่วยป้องกันการอักเสบ ติดเชื้อของดวงตา ใช้ล้างสิ่งระคายเคืองออกจากตา ใช้เรียกร้องความเห็นอกเห็นใจ ความสงสารจากผู้พบเห็น ใช้เป็นเครื่องมือในการระบายเอาความทุกข์โศกออกไปจากจิตใจ นอกจากนี้น้ำตายังทำให้กวี และนักประพันธ์เพลงหลายยุคหลายสมัย ได้ใช้ประโยชน์ในการสร้างสรรค์วรรณกรรมชิ้นเอกที่ประทับใจผู้คนไว้มากมาย

            นักชีวเคมีแห่งศูนย์วิจัยน้ำตา ชื่อ วิลเลี่ยม เฟรย์ ได้ให้ความสนใจและทำการศึกษาวิจัย เรื่องของน้ำตา มาเป็นเวลานานกว่า 15 ปี ได้เขียนผลการวิจัยไว้น่าสนใจคือ

            การหลั่งน้ำตาของคนเรานั้นถูกควบคุมโดยต่อมน้ำตา ซึ่งจะเป็นผู้กำหนดความเข้มของน้ำตาและควบคุมปริมาณการขับถ่ายธาตุแมงกานีส รวมทั้งแร่ธาตุอื่นๆ ที่ร่างกายสร้างขึ้นขณะที่อารมณ์เปลี่ยนแปลงออกไปจากร่างกาย และพบว่า ปริมาณของแร่ธาตุต่างๆ ที่มีในน้ำตานั้น มากกว่าที่มีในกระแสเลือดถึง 30 เท่า และได้อธิบายว่า การที่ผู้ร้องไห้จะสบายขึ้น เป็นเพราะว่าร่างกายได้ขจัดเอาสารเคมีต่างๆ ที่เกิดขึ้นในขณะที่มีความทุกข์ออกไปจากร่างกายพร้อมน้ำตานั่นเอง ในการศึกษาของเฟรย์พบว่าผู้ชาย 73% และผู้หญิง 75% ที่กล่าวว่ารู้สึกสบายขึ้นหลังการร้องไห้            สิ่งที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งคือ ในเรื่องส่วนประกอบทางเคมีของน้ำตาที่หลั่ง เนื่องจากสาเหตุที่แตกต่างกันพบว่า ประกอบด้วยสารเคมีบางอย่าง ที่เหมือนกันและบางอย่างที่แตกต่างกัน ซึ่งได้มีการทดลอง โดยใช้ชายหญิงจำนวนร้อยคนหลั่งน้ำตาด้วยสาเหตุที่แตกต่างกัน 2 วิธีคือ วิธีแรกโดยการหั่นหัวหอมสดทำให้เกิดการระคายเคืองตา น้ำตาก็จะไหลออกมา กับอีกวิธีหนึ่งก็คือกระตุ้นให้เกิดความรู้สึก สะเทือนอารมณ์โดยให้ดูภาพยนต์ 3 เรื่อง ที่ดูแล้วจะกลั้นน้ำตาไว้ไม่อยู่ แล้วนำน้ำตาที่หลั่งเนื่องจากสาเหตุทั้งสอง มาวิเคราะห์หาส่วนประกอบดูความเหมือนและความแตกต่าง

            พบว่าส่วนประกอบที่แตกต่างกันก็คือ ปริมาณของโปรตีนในน้ำตา น้ำตาที่หลั่งเนื่องจากความรู้สึกสะเทือนอารมณ์จะมีโปรตีนสูงกว่า น้ำตาที่หลั่งเนื่องจากการระคายเคืองตาถึง 24% และเราสามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนก็คือ ผู้ที่ร้องไห้มากสาเหตุจากสะเทือนอารมณ์มักจะมีสุขภาพทรุดโทรมลง อย่างรวดเร็ว ซึ่งน่าจะเป็นเพราะร่างกายต้องสูญเสียโปรตีนสูง ประกอบกับในภาวะดังกล่าวมักจะมีอาการนอนไม่หลับร่วมด้วยนั่นเอง

            จะเห็นได้ว่าน้ำตานั้นมิได้เป็นสิ่งที่ไร้ค่าไร้ประโยชน์เอาเสียเลยทีเดียว และการร้องไห้ก็ไม่น่าจะถือเป็นเรื่องเสียหายอะไร จนจำเป็นต้องใช้ความพยายามในการสะกดกั้นหลีกเลี่ยง ในยามที่มีความทุกข์เราก็ควรจะร้องไห้เพื่อระบายความทุกข์นั้น ออกไปเสียบ้างแต่ที่สำคัญต้องไม่ลืมที่จะถนอมรักษาสุขภาพไว้บ้าง เพื่อเก็บแรงเก็บกำลังไว้คิดหาหนทางต่อสู้แก้ไขปัญหาที่มีอยู่ ให้ลุล่วงไปโดยเร็วน่าจะถือว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องมากกว่า


ส่วนประกอบของน้ำตา            น้ำตา นั้นประกอบด้วยสารเคมี 3 ชนิดที่ทราบกันดีว่า เป็นสารเคมีที่เกิดขึ้นใน ขณะที่ร่างกายอยู่ในภาวะตึงเครียดได้แก่ สารเอนโดฟิน ซึ่งเชื่อว่า เป็นตัวรู้สึกผ่อนคลายความรู้สึกเจ็บปวด ชนิดที่ 2 คือ เอซีพีเอช (ACPH) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ถือได้ว่า เป็นตัวบ่งชี้ได้มากที่สุดว่าร่างกายกำลังอยู่ในภาวะถูกกดดัน และสารเคมีตัวที่ 3 ซึ่งเป็นตัวสำคัญที่นำมาใช้อธิบายความแตกต่างระหว่างเพศในเรื่องการร้องได้คือ โพรแลกติน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่มีหน้าที่โดยตรงในการผลิตน้ำนม ในสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม โพรแลกตินนี้ จะเป็นตัวส่งเสริมการผลิตน้ำตาด้วย

            จากข้อค้นพบนี้ได้ถูกนำมาอธิบายความแตกต่าง ระหว่างเพศชายและหญิงในเรื่องการร้องไห้ว่า เพราะผู้หญิงที่โตเป็นผู้ใหญ่มีระดับฮอร์โมนโพรแลกติน ในกระแสเลือดสูงกว่าในวัยเดียวกันถึงเกือบ 60% จึงทำให้ผู้หญิงร้องไห้ง่ายกว่าผู้ชาย สำหรับในวัยเด็กจนถึงวัยแรกรุ่น เด็กชายและเด็กหญิงจะมีระดับทางฮอร์โมนโพรแลกติน ใกล้เคียงกันจึงพบว่าเด็กชายและเด็กหญิงร้องไห้บ่อยพอๆ กัน

            สำหรับผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือน ซึ่งมีระดับของฮอร์โมนโพรแลกตินลดลงอย่างรุนแรงนั้นมักจะพบว่า มีอาการตาแห้ง ซึ่งเนื่องมาจากต่อมน้ำตา หลั่งน้ำตามาหล่อลื่นได้ไม่เพียงพอ ผู้ที่มีอาการเช่นนี้ความสามารถในการหลั่งน้ำตาเสียไปบ้าง จึงทำให้หลั่งน้ำตาได้ช้า แม้จะเกิดความรู้สึกสะเทือนอารมณ์ และด้วยเหตุผลนี้คนไข้บางรายจึงรักษาอาการตาแห้ง โดยวิธีคิดถึงเรื่องที่สะเทือนอารมณ์ จนน้ำตาไหลออกมา และนี่ก็คงนับได้ว่าเป็นประโยชน์อีกประการหนึ่งของน้ำตาคือใช้รักษาโรคทางกายบางโรคได้


ขอขอบคุณข้อมูลจาก Devil

วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

"ความรัก"


อย่าไปค้นหาความรัก ...
ปล่อยให้ความรักค้นพบคุณเอง
นั่นแหละถึงจะเรียกว่าตกหลุมรัก
เพราะคุณไม่ได้บังคับตัวคุณให้เป็นไป แต่มันเป็นไปเอง

เมื่อคุณยอมรับใครบางคนในตัวตนและสิ่งที่เขาเป็น
คุณจะประหลาดใจเมื่อเขาดีกว่าที่คุณคาดหวังไว้มาก
ความรักคือการรักและยอมรับในทั้งข้อดีและข้อเสียของเขา

โชคดีคือผู้ชายได้เป็นคนรักคนแรกของผู้หญิง
ที่โชคดีกว่านั้นคือผู้หญิงได้เป็นคนรักคนสุดท้ายของผู้ชาย

คุณจะได้รับรู้ว่าคนๆ หนึ่งมีความหมายกับคุณมากเพียงไร
ก็เมื่อคุณตื่นขึ้นและพบว่าคุณได้สูญเสียใครคนนั้น
ที่คุณเคยคิดว่าไม่มีความหมายกับคุณเลยไปเสียแล้ว

รักคือการมองตัวคุณผ่านสายตาของคนอื่น
และค้นหาตัวคุณในหัวใจของคนนั้น
เมื่อคุณรักแล้ว คุณก็จะรักตลอดไป
สำหรับสิ่งที่คุณอาจจะคิดหลบหนี
แต่หัวใจคุณเก็บมันไว้ตลอดเวลา